คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI ย่อมาจากคำว่า
Computer-Assisted หรือ Aided
Instruction หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง
ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสม ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ
วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด
ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ (CAI)
1. ประเภทการสอน (Tutorial) เป็นแบบผู้ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่สอน โดยนำเสนอเนื้อหาให้ผู้เรียนได้ศึกษา ต่อจากนั้นจะมีการตั้งคำถามให้ผู้เรียนตอบ หากตอบไม่ได้จะได้รับคำแนะนำเนื้อหานั้นใหม่และให้ตอบคำถามใหม่จนกว่าจะเข้าใจ โปรแกรมจะเสนอบทเรียนใหม่และเน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งคำตอบอาจตอบได้หลายวิธี เป็นประเภท CAI ที่นิยมใช้กันมากที่สุด
2. ประเภทฝึกหัดและปฏิบัติ (Drill and Practice) เป็นการให้ผู้เรียนได้ทำแบบฝึกหัดหลังจากที่ได้เรียนเนื้อหานั้นๆ แล้ว หรือมีการฝึกซ้ำๆ เพื่อให้เกิดทักษะหรือเป็นการแก้ปัญหาแบบท่องจำ เช่น การฝึกท่องจำคำศัพท์ ฝึกบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น
3. ประเภทสถานการณ์จำลอง (Simulation) CAI แบบนี้ออกแบบเพื่อสอนเนื้อหาใหม่และทบทวนหรือเสริมในสิ่งที่ได้เรียนหรือทดลองไปแล้ว โดยใช้สถานการณ์จำลองเป็นการเลียนแบบหรือจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความจริงหรือตามธรรมชาติ
4. ประเภทเกม (Game) เป็นการเรียนรู้จากการเล่น อาจจะเป็นประเภทให้แข่งขันเพื่อไปสู่ชัยชนะ หรือเป็นประเภทเกมความร่วมมือ คือ เล่นเป็นทีมเพื่อฝึกการทำงานเป็นทีม อาจใช้เกมในการสอนคำศัพท์ เกมการคิดคำนวณ หรือเกมจับผิด เป็นต้น
5. ประเภทการทดลอง (Tests) เพื่อทดสอบผู้เรียนโดยตรงหลังจากที่ได้เรียนเนื้อหาหรือฝึกปฏิบัติได้แล้ว โดยผู้เรียนจะทำแบบทดสอบผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อคอมพิวเตอร์รับคำตอบแล้วก็จะบันทึกผล ประมวลผลตรวจให้คะแนนและเสนอผลให้ผู้เรียนทราบทันทีที่ทำข้อสอบเสร็จ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันในการที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ ดังนั้น ก่อนที่จะนำสื่อไปทำการเผยแพร่ จึงจำเป็นที่จะต้องทำการหาประสิทธิภาพของ CAI เพื่อที่จะได้รู้ว่าสื่อที่ทำออกมานั้น มีประสิทธิภาพเพียงพอ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้วัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ จะต้องตรวจสอบและวิเคราะห์ หาค่าคุณภาพเครื่องมือก่อนทุกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่า เครื่องมือนั้น มีเกณฑ์ มาตรฐานได้ ผลการวัดที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ถ้าปรากฏว่า ค่าคุณภาพ ด้านต่างๆ ที่วิเคราะห์ไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ ต้องปรับปรุงแก้ไขและนําไปทดลองใหม่จนแน่ใจว่าได้ค่าคุณภาพตามเกณฑ์ที่กําหนด ในการวัดผลการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีความแน่ใจว่าเครื่องมือที่วัดนั้น มีคุณภาพดีพอก่อนนําไปใช้ได้จริง
ลักษณะของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. มีความเที่ยงตรง (validity) ดัชนีค่าความสอดคล้อง (IOC) แต่ละข้อต้องมีค่ามากกว่า 0.5 ซึ่งหมายถึง วัดได้ตรงตามจุดประสงค์ของการวัด
2. มีความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบ ทั้งฉบับมีค่าไม่ต่ำกว่า 0.7 ซึ่งแสดงว่า เครื่องมือวัดให้ผลการวัดที่สม่ำเสมอ แน่นอน คงที่
3. มีความเป็นปรนัย หมายถึง เครื่องมือวัดที่มีข้อความชัดเจน การตรวจให้คะแนนมีมาตรฐานสามารถแปลความหมายพฤติกรรมได้ตรงกัน ไม่ว่าใครจะเป็นผู้วัดหรือผู้ตรวจ
4. มีค่าความยาก ระหว่าง 0.2 - 0.8 (ไม่ควรยากเกินไปและไม่ง่ายเกินไป)
5. มีค่าอํานาจจําแนก ระหว่าง 0.2 - 1.0 (ค่ายิ่งมากยิ่งดี
ค่าที่คํานวณได้
จะอยู่ระหว่าง -1 ถึง 1)
- การประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ดังนี้
- ด้านเนื้อหา
(content)
- ด้านการออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional
System Design)
- ด้านการออกแบบหน้าจอ
(Screen
Design)
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.
ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความสนใจของตนเอง
2.
ผู้เรียนมีโอกาสเรียนซ้ำบทเรียนนั้นๆ ได้หลายครั้งเท่าที่ต้องการ
3.
ผู้เรียนมีโอกาสโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์และสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้
4.
มีภาพ ภาพเคลื่อนไหว สี เสียง ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายกับการเรียน
5.
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้
6.
ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามขั้นตอนจากง่ายไปยากหรือเลือกบทเรียนได้เอง
7.
ฝึกให้ผู้เรียนฝึกคิดอย่างมีเหตุผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น