การใช้ Digital Storytelling เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่ดีสำหรับผู้เรียน ในศตวรรษที่
21 ที่มีความสนใจการใช้เทคโนโลยีอยู่แล้ว ผู้เรียนจะได้รับงานมอบหมายจากผู้สอนให้ค้นคว้าในหัวข้อที่ตนเองสนใจ
และนำเสนอออกมาในรูปแบบการเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัล กิจกรรมเหล่านี้ เป็นการสร้างความสนใจ
และแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียนที่เป็น “Digital Native” ได้เป็นอย่างดี
จากการที่ผู้เรียนต้องนำเสนอชิ้นงานออกมาในรูปแบบนี้ ผู้เรียนจะได้เห็นศักยภาพของตัวเองในการค้นหาข้อมูล
เล่าเรื่องราว การวิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล และนำไปสู่การเพิ่มทักษะในการสื่อสาร
การนำเสนอ การจัดระเบียบความคิด การคิดตั้งคำถาม และการทำงานเป็นทีมได้ดีอีกด้วย จะเห็นว่า
ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
Digital Storytelling ไม่ใช่แค่การผลิตคลิปวิดีโอหรือพัฒนาคนทำสื่อ
แต่มีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนจะได้มีโอกาสพัฒนาทักษะหลายๆ ด้านผ่านกระบวนการนี้ ให้มีโอกาสค้นคว้าและฝึกการเรียนรู้และหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง
การผลิตสื่อเป็นกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนต้องมีความเข้าใจเนื้อหาและมีความสามารถในการที่จะเล่าออกมาให้คนเข้าใจได้
กระบวนการนี้ จะเปลี่ยนการเรียนรู้จากการที่ผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้อย่างเดียว (Passive
Learner) เป็นผู้เรียนที่มีส่วนร่วม (Active Learner) และสามารถที่จะสร้างเนื้อหาใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนได้ (Original
Content)
ประเภทของแอพพลิเคชั่นที่ใช้สำหรับการเล่าเรื่องด้วยดิจิทัล
(Digital
Storytelling)
- iMovie แอพพลิเคชั่นสำหรับการตัดต่อวิดีโอ
ใช้สำหรับวิชาต่างๆ ได้ทั้งหมด ตัวอย่าง เช่น วิชาโครงงาน
ผู้เรียนสามารถเก็บขั้นตอนงานต่างๆ ที่เกิดขึ้น
และนำมาตัดต่อเป็นวิดีโอ เพื่อสรุปขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ได้
- Toontastic แอพพลิเคชั่นสำหรับการสร้างการ์ตูน
สามารถดูวิดีโอเกี่ยวกับการใช้งานในแอพพลิเคชั่นนี้ได้ ตัวอย่าง เช่น วิชาภาษาอังกฤษ
สามารถนำแอพพลิเคชั่นนี้ ไปใช้ให้เด็กฝึกสนทนาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ สำหรับวิชาอื่นๆ
ก็สามารถประยุกต์ใช้ในทำนองเดียวกันได้
สามารถฝึกให้ผู้เรียนได้สรุปองค์ความรู้ที่ตัวเองได้เรียนมาด้วยตนเอง
- Adobe Spark Video แอพพลิเคชั่นสำหรับสร้างวีดิโอ ข้อมูลกราฟิกต่างๆ มีภาพ และเสียงประกอบ
ทำเป็นวิดีโอรณรงค์สิ่งต่างๆ ได้ ผู้สร้างวิดิโอ อาจจะเป็นครูหรือผู้สอนที่ต้องการสร้างสื่อที่มีลักษณะหลากหลาย
ทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น หรือผู้สร้างวิดีโออาจจะเป็นผู้เรียนที่ใช้แอพพลิเคชั่นนี้
เพื่อสร้างชิ้นงานในการนำเสนอก็สามารถทำได้
- Show me Interactive Whiteboard สำหรับการใช้แทนกระดานไวท์บอร์ด
สามารถใส่รูปภาพ และอัดเสียงได้ ในขณะวาดรูป ในกรณีที่ใช้ขึ้น หน้าจอโปรเจ็กเตอร์
จะใช้แทนกระดานดำ หรือ กระดานไวท์บอร์ดได้เลย
- Explain Everything™ VPP
Interactive Whiteboard แอพพลิเคชั่นนี้ดีมาก
ใช้สำหรับการอธิบายได้ทุกสิ่งอย่าง และยังมีฟีเจอร์ที่เสริมขึ้นมาอีก เช่น
การที่เราสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย แอพพลิเคชั่นนี้มีให้ทดลองใช้ฟรี
30 วัน
- Doodlecast Pro Video Whiteboard ใช้สำหรับเป็นกระดานไวท์บอร์ด
สามารถบันทึกภาพหรืออัดภาพหน้าจอที่เราต้องการได้อีกด้วย
- Puppet pals HD แอพพลิเคชั่นสำหรับทำการ์ตูน สร้างเรื่องราวต่างๆ ผ่านรูปภาพ รูปวาด วิดีโอ หรือ Stop Motion ต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น