25.11.59

เว็บเควสท์ (WebQuest)



เว็บเควสท์  (WebQuest)  เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐาน ผู้สอนไม่ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนแต่ฝ่ายเดียว แต่ผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้จัดกลุ่ม เรียบเรียงและลำดับความรู้ต่างๆ ให้อำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนในการเข้าถึงความรู้นั้นๆ อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้

         ลักษณะของเว็บเควสท์ที่สำคัญ  คือ  แสดงเพียงโครงร่างเนื้อหาเป็นกรอบของความรู้ที่ผู้เรียนต้องศึกษาหรือควรจะศึกษา ไม่ได้มุ่งแสดงเนื้อหารายละเอียดของความรู้นั้นๆ ที่ชี้ชัดเจนลงไปโดยตรง เช่น การเปรียบเทียบระหว่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับวิธีการของเว็บเควสท์ ดังตารางต่อไปนี้


บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
วิธีการของเว็บเควสท์


  • บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั่วๆ ไป  ที่ผู้ออกแบบได้ระบุเนื้อหาเฉพาะเพียงกรอบของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องการเท่านั้น


  • ในการเข้าสู่เนื้อหาความรู้ต่างๆได้ โดยใช้ตัวเชื่อมโยงบนหน้าเว็บเพจหลักของกรอบโครงสร้าง เนื้อหาหลักที่ผู้ออกแบบจัดกลุ่ม เรียบเรียง และลำดับดังที่กล่าวไว้แล้วนั้น เชื่อมโยงไปยังแหล่งความรู้อื่นๆ ในเว็บไซต์อื่นที่ผู้สอนหรือผู้ออกแบบพิจารณาเห็นว่ามีเนื้อหาสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน


การเรียนโดยใช้กิจกรรมแบบเว็บเควสท์ 

มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน ดังนี้ 

  1. ขั้นนำ (Introduction)
   2. ขั้นภารกิจ (Task)
   3. ขั้นกระบวนการ (Process) 
   4. ขั้นชี้แหล่งความรู้ (Resources)
   5. ขั้นประเมินผล (Evaluation) 
   6. ขั้นสรุป (Conclusion)
        
           ในการเรียนด้วยวิธีการของเว็บเควสท์จะต้องเรียนผ่านทุกกิจกรรม เพราะทุกกิจกรรมมีความสำคัญในการเรียน ถ้าเรียนไม่ครบจะไม่สามารถสรุปเนื้อหาบทเรียนได้เลย ก่อนเรียนควรทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้เมื่อเรียนครบทุกกิจกรรมและควรทำแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อวัดความรู้หลังเรียน



ข้อดี-ข้อเสียของการเรียนรู้ผ่านเว็บเควสท์


  • ข้อดี : ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเองอย่างมีลำดับขั้นตอน ซึ่งเป็นการฝึกให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ และเป็นการฝึกให้ผู้เรียนค้นคว้าและติดตามเนื้อหาที่ลึกลงไป ทำให้สะดวกต่อการประเมินผลรายบุคคล
  • ข้อเสีย : ลักษณะของเว็บเควสท์จะแสดงเพียงโครงร่างเนื้อหาเป็นกรอบของความรู้ที่ผู้เรียนต้องหรือควรที่จะศึกษา ไม่ได้มุ่งแสดงเนื้อหารายละเอียดของความรู้นั้นๆ ที่ชี้ชัดเจนลงไปโดยตรง


ตัวอย่างการนำเว็บเควสท์มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในชั้นเรียน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น